ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา กระทุงลาย, มะแตก, หมากแตก
กระทุงลาย, มะแตก, หมากแตก
Celastrus paniculatus Willd.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Celastraceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Celastrus paniculatus Willd.
 
  ชื่อไทย กระทุงลาย, มะแตก, หมากแตก
 
  ชื่อท้องถิ่น - หมักแตก(คนเมือง), ผักลิ้นแลน(ไทลื้อ), หมากแตก(คนเมือง) - กระทุงลาย โชด (ภาคกลาง) นางแตก (นครราชสีมา) มะแตก มะแตกเครือ มักแตก (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ) [5]
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ต้น เป็นพรรณไม้พุ่มเลื้อย มีความสูงประมาณ 2-10 เมตร ลักษณะเนื้อไม้เป็นสีน้ำตาลแดง
ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบมีลักษณะเป็นรูปไข่หรือรูปรี โคนใบสอบเข้าหากันมน ส่วนปลายใบแหลมหรือมน ริมขอบใบหยักละเอียดเป็นฟันเลื่อย หลังใบมีพื้นผิวเรียบ ใต้ท้องใบจะมีเส้นใบมี 5-8 คู่ เห็นได้ชัด ขนาดของใบกว้างประมาณ 1-2.5 นิ้ว ยาวประมาณ 2-6 นิ้ว มีก้านใบยาวประมาณ 0.5-1.5 ซม. ดอก ดอกออกเป็นช่อ ยาวประมาณ 4-8 นิ้ว ซึ่งออกอยู่บริเวณปลายยอด ลักษณะของดอก มีทั้งดอกเพศผู้และเพศเมีย ซึ่งจะมักแยกกันคนละต้น ลักษณะของดอกเพศผู้ กลีบของกลีบดอกมี 5 กลีบ โคนกลีบดอกจะเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง ปลายกลีบดอกแยกออกเป็นแฉก รูปค่อนข้างกลม มีขนขึ้นประปราย ฐานดอกเป็นรูปถ้วยนูน ตรงกลางดอกมีเกสรตัวผู้มี 5 อัน ยาวราว 2-2.5 มม. สำหรับดอกเพศเมียจะมีลักษณะฐานดอกและกลีบรองกลีบดอก จะเหมือนกับดอกเพศผู้ แต่ตรงกลางดอกมีเกสรตัวเมียยาวราว 2-2.5 มม. ยอดเกสรมี 3 พู ผล มีลักษณะค่อนข้างกลม ปลายผู้มียอดตัวเมียติดอยู่ ผล มีขนาดกว้างประมาณ 5-8 มม. ยาวประมาณ 5-10 มม. แต่พอผลแก่เต็มที่เกสรที่อยู่ปลายผลจะหลุดออก
ผล แตกออกเป็นห้อง 3 ห้อง เมล็ด เนื้อหุ้มเมล็ดมีสีแดง เมล็ดเป็นรูปรี มีความกว้างราว 2-3 มม. ยาวราว 3.5-5 มม. [1]
 
  ใบ ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบมีลักษณะเป็นรูปไข่หรือรูปรี โคนใบสอบเข้าหากันมน ส่วนปลายใบแหลมหรือมน ริมขอบใบหยักละเอียดเป็นฟันเลื่อย หลังใบมีพื้นผิวเรียบ ใต้ท้องใบจะมีเส้นใบมี 5-8 คู่ เห็นได้ชัด ขนาดของใบกว้างประมาณ 1-2.5 นิ้ว ยาวประมาณ 2-6 นิ้ว มีก้านใบยาวประมาณ 0.5-1.5 ซม. ดอก ดอกออกเป็นช่อ ยาวประมาณ 4-8 นิ้ว ซึ่งออกอยู่บริเวณปลายยอด ลักษณะของ
 
  ดอก ดอก มีทั้งดอกเพศผู้และเพศเมีย ซึ่งจะมักแยกกันคนละต้น ลักษณะของดอกเพศผู้ กลีบของกลีบดอกมี 5 กลีบ โคนกลีบดอกจะเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง ปลายกลีบดอกแยกออกเป็นแฉก รูปค่อนข้างกลม มีขนขึ้นประปราย ฐานดอกเป็นรูปถ้วยนูน ตรงกลางดอกมีเกสรตัวผู้มี 5 อัน ยาวราว 2-2.5 มม. สำหรับดอกเพศเมียจะมีลักษณะฐานดอกและกลีบรองกลีบดอก จะเหมือนกับดอกเพศผู้ แต่ตรงกลางดอกมีเกสรตัวเมียยาวราว 2-2.5 มม. ยอดเกสรมี 3 พู ผล มีลักษณะค่อนข้างกลม ปลายผู้มียอดตัวเมียติดอยู่ ผล มีขนาดกว้างประมาณ 5-8 มม. ยาวประมาณ 5-10 มม. แต่พอผลแก่เต็มที่เกสรที่อยู่ปลายผลจะหลุดออก
 
  ผล ผล แตกออกเป็นห้อง 3 ห้อง เมล็ด เนื้อหุ้มเมล็ดมีสีแดง เมล็ดเป็นรูปรี มีความกว้างราว 2-3 มม. ยาวราว 3.5-5 มม.
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ยอดอ่อน นำไปประกอบอาหาร เช่น แกงใช้ใส่แกงหน่อไม้หรือแกงแค(ไทลื้อ)
- เมล็ด นำไปคั้นเอาน้ำมัน มาใช้ทาตัว แก้อาการเคล็ดขัดยอก(คนเมือง)
ราก ตากแห้งต้มน้ำดื่มกับข้าวเปลือกข้าวเจ้า แก้อาการปวดท้องบิด(คนเมือง)
- ราก แก้ไข้มาลาเรีย แก้สตรีคลอดบุตรอยู่ไฟไม่ได้ บำรุงน้ำนม ใบ แก้บิด ถอนพิษเบื่อเมา ผล แก้พิษงู แก้จุดเสียด แก้ปวดกล้ามเนื้อ เหน็บชา เมล็ด แก้ปวดตามข้อ กล้ามเนื้อ และอัมพาต น้ำมันในเมล็ด แก้เหน็บชาและขับเหงื่อ [5]
- ลำต้น ใช้เป็นยาแก้โรควัณโรค แก้ไข้มาลาเรีย
ใบ ใช้เป็นยาแก้โรคบิด กระตุ้นประสาท และใช้เป็นยาถอนพิษฝิ่น วิธีใช้ด้วยการต้ม หรือคั้นเอาน้ำกิน
เปลือก ใช้เป็นยาทำแท้ง
เมล็ด นำมาตำให้ละเอียดใช้พอกหรือกิน เป็นยาแก้โรคอัมพาต และโรคปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ เป็นยาแก้ไข้ เมื้อคั้นเอาน้ำมันจากเมล็ด ใช้เป็นยาแก้โรคเหน็บชา ขับเหงื่อ เป็นต้น
ผล ใช้เป็นยาแก้ลมจุกเสียด บำรุงเลือด และใช้เป็นยาถอนพิษงู เป็นต้น [1]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ.
[5] พงษ์ศักดิ์ พลเสนา, 2550. พืชสมุนไพรในสวนป่าสมุนไพรเขาหินซ้อน ฉบับสมบูรณ์. สวนพฤกษศาสตร์ ภาคตะวันออก (เขาหินซ้อน). เจตนารมณ์ภัณฑ์, ปราจีนบุรี.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง